หลังโรงโขนไทย พาไปดูให้รู้ ตอนที่ 6 หัตถศิลป์ประดิษฐ์ชุดโขน
เครื่องแต่งกายโขน ที่สะท้อนถึงศิลปะไทยที่มีความประณีตและวิจิตรงดงาม เครื่องแต่งกายโขนนั้น นำรูปแบบมาจากเครื่องทรงกษัตริย์ ตามความเชื่อที่ว่า กษัตริย์เป็นสมมุติเทพ เครื่องทรงจึงคล้ายกับเครื่องทรงของเทวดา เครื่องแต่งกายตัวเอกของโขน พระราม พระลักษมณ์ ทศกัณฐ์ และนางสีดา นิยมปักลายหนุน ส่วนสิบแปดมงกุฎ ลิงพญา เสนายักษ์ นิยมปักษ์ลายเลื่อม โดยเครื่องประกอบส่วนที่เป็นผ้าปักของตัวพระ ยักษ์ และลิง ได้แก่ สนับเพลา รัดสะเอว ห้อยข้าง ห้อยหน้า ห้อยหลัง ตัวเสื้อ อินทรธนู กนกแขน รัดอก กรองคอ ส่วนผ้าปักฝ่ายนาง ได้แก่ ผ้าห่มสองชาย ผ้าห่มนางผืนใหญ่ ผ้าห่มนางยักษ์ และนวมนาง ครั้งนี้เด็กๆ ได้รับความอนุเคราะห์จาก “แม่เปี้ยก” สมคิด หลาวทอง ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2560 บรมครูด้านชุดและเครื่องแต่งกายโขน ละคร ได้เป็นวิทยากรบอกเล่าให้เด็กๆ เข้าใจถึงศาสตร์และศิลป์ของการประดิษฐ์ชุดโขน
โครงการ “หลังโรงโขนไทย พาไปดูให้รู้” เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนทุนจาก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นการสร้างสรรค์ Content เผยแพร่ลงบนสื่อดิจิทัล ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับโขนไทยที่มีความเข้าใจง่าย เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ สามารถเข้าถึงแก่นของการแสดงโขน ศิลปวัฒนธรรมศาสตร์และศิลป์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนาฎศิลป์ชั้นสูงซึ่งเป็นมรดกของชาติ
ตอนอื่นๆ
เนื้อหาใกล้เคียง
ละครซอพื้นบ้านนิทานชาดก: จันทฆาปูจี่ กำพร้ากำเนิด
ท่องถึงถิ่น เที่ยวฟินวัฒนธรรม: บ้านโคกเมือง EP. 1/3
คนรุ่นใหม่หัวใจโนรา
เด็กเล่น ตอนที่ 1 สวมบทวิ่งไล่จับ
รู้นะ รู้ยัง รู้ทันสื่อ พิเศษ ตอนที่ 1 ผู้มีอิทธิพลทางความคิดทางออนไลน์คืออะไร
Tea นี้...มีเรื่องเล่า | ตอนที่ 1 เปิดหน้าชาจีน-ชาชัก
ท่องถึงถิ่น เที่ยวฟินวัฒนธรรม: ชุมชนบางใบไม้ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี EP. 1/3
เที่ยวแบบสุ่มสุพรรณบุรี
รู้นะ รู้ยัง รู้ทันสื่อ ตอนที่ 1 สื่อโซเชียลใช้ยังไงไม่ให้ปังปินาศ
ท่องถึงถิ่น เที่ยวฟินวัฒนธรรม: ชุมชนบ้านผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน EP. 1/3